วาเล


วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ : โมเดล Vroom – Yetton – Jago

 ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์  :  โมเดล  Vroom – Yetton – Jago
เป็นทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ที่สำรวจถึงโมเดลการตัดสินใจที่เป็นแบบอย่างวิธีการที่ปัจจัยเชิงสถานการณ์มีผลกระทบต่อระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการตัดสินใจ ทฤษฎีนี้อาจเรียกว่า โมเดลการตัดสินใจที่เป็นแบบอย่าง  (Normative decision msde1)  หรือโมเดลความเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่าง  (Normative leadership model)
เพื่อให้เกิดพิจารณารูปแบบที่มีประสิทธิผลสูงสุด  ผู้บริหารจะใช้หลักการตัดสินใจ  (Decision tree)  ซึ่งแนะนำโดยใช้คำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจ ดังภาพโมเดล  ซึ่ง  Vroom  และ  Jago ได้พัฒนาทางเลือกการตัดสินใจเพื่อช่วยผู้บริหารพิจารณาปัญหาได้กว้างขวางขึ้น  คำถามในทางเลือกการตัดสินใจได้สำรวจปัจจัยสถานการณ์  4  แบบ  ซึ่งมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ  คือ (1)  คุณภาพการตัดสินใจ  (2)  การยอมรับการตัดสินใจ  (3)  ความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาพนักงาน  (4)  ความเกี่ยวข้องกับเวลา โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.  คุณภาพการตัดสินใจ   (Decision quality)  จากการคำนึงถึงคุณภาพด้านเทคนิคในการตัดสินใจซึ่งอาจจะสำคัญหรือไม่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การ  ถ้าผลลัพธ์เป็นไปได้สำหรับปัญหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในเรื่องความสามารถ จะนำไปสู่ความใกล้ชิดกับเป้าหมาย คุณภาพการตัดสินใจไม่ใช่ปัจจัยในสถานการณ์นั้น ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อพนักงานมีข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับปัญหาในการตัดสินใจ และเมื่อมีเป้าหมายกับผู้บริหาร
2.  การยอมรับการตัดสินใจ  (Decision acceptance)  จะเกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็นซึ่งพนักงานจะยอมรับการตัดสินใจ และยอมรับการปฏิบัติ พนักงานโดยทั่วไปจะยอมรับการตัดสินใจ และการปฏิบัติการเมื่ออยู่ในสภาพพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ
3.  ความเกี่ยวข้องกับการพัฒนา   (Concern for employee development)  หมายถึง  ความสนใจของผู้บริหารในการช่วยปรับปรุงพนักงานในด้านความคิดและทักษะการตัดสินใจเป็นการให้โอกาสพนักงานหลายคนที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ทำให้เกิดทักษะเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น โดยเกี่ยวข้องกับการให้คำแนะนำในกระบวนการตัดสินใจ
4.  การเกี่ยวข้องกับเวลา  (Concern for timeเป็นปัจจัยสถานการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวกับการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ บางครั้งจะมีข้อขัดแย้งด้านเวลา เกี่ยวกับการพัฒนาด้านเวลา และผู้บริหารต้องแก้ปัญหาเมื่อสถานการณ์เกี่ยวข้องกับกำหนดการที่สำคัญ ถ้าเป้าหมายสามารถบรรลุผู้บริหารเพื่อให้ระบบเผด็จการหรือรูปแบบให้คำแนะนำเพื่อการตัดสินใจที่เร็วขึ้น  แม้ว่าพนักงานจะสูญเสียโอกาสในการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้นก็ตาม
ทฤษฎี  Vroom  (Vroom theory)  ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักจิตวิทยาชื่อ  Victor H. Vroom  ซึ่งเสนอแนวความคิดว่า บุคคลจะได้รับการกระตุ้นให้กระทำสิ่งซึ่งสามารถบรรลุเป้าหมาย ถ้าเชื่อในคุณค่าของเป้าหมาย และมองเห็นว่าจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้  ซึ่งทฤษฎี  Vroom  เป็นการจูงใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งซึ่งมีคุณค่าในผลลัพธ์จากการใช้ความพยายาม  (อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ)  คูณด้วยความคาดหวังจากการใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ซึ่ง Vroom  ได้ระบุว่า  การจูงใจเป็นสิ่งที่มีค่าที่แต่ละบุคคลจะพยายามกำหนดเป้าหมายและโอกาสเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
ทฤษฎี  Vroom  เป็นไปตามสมการ ดังนี้
อำนาจ (Force) = คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) x ความคาดหวัง (Expectancy)
โดยอำนาจ  (Force)  เป็นพลังที่เป็นแรงจูงใจภายในของบุคคล  คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์  (Valenceเป็นการที่บุคคลประเมินค่าผลลัพธ์ว่าก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ โดยจะมีค่าระหว่าง -ถึง  +1  ส่วนความคาดหวัง  (Expectancy)  เป็นการกระทำเฉพาะอย่างซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
      สมมติฐานที่สำคัญของทฤษฎีความคาดหวัง มีดังนี้
1.  พฤติกรรมเป็นผลมาอำนาจ   (Force)  หรือ พลังในตัวบุคคลกับสภาพแวดล้อม
2.  บุคคลแต่ละคนจะมีความต้องการ  ความปรารถนา และเป้าหมายที่แตกต่างกัน
3.  บุคคลเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกของพฤติกรรม  ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
บุคคลที่ไม่มีเป้าหมายเฉพาะอย่าง มีคุณค่าความพอใจในผลลัพธ์  (Valence)  เท่ากับศูนย์ และมีความคาดหวังเป็นศูนย์หรือติดลบ จะทำให้บุคคลไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากขาดอำนาจหรือการจูงใจ ดังนั้นอำนาจในการกระทำบางสิ่งจึงขึ้นอยู่กับทั้งคุณค่าความพอใจในผลลัพธ์และความคาดหวัง นอกจากนี้สิ่งจูงใจเพื่อให้บรรลุการกระทำบางอย่างได้กำหนดโดยความต้องการให้บรรลุสิ่งนั้น  ตัวอย่าง  บุคคลเต็มใจทำงานหนักเพื่อให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ในรูปของค่าตอบแทน เช่น  ผู้บริหารจะเต็มใจทำงานหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทในการตลาดหรือการผลิต เพื่อการเลื่อนตำแหน่ง หรือผลลัพธ์ด้านค่าตอบแทน
ทฤษฎีความคาดหวังของ  Vroom (Expectancy theory)  เสนอว่า แต่ละบุคคลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยถือเกณฑ์ ความสามารถ ประสบการณ์ในการทำงานและการได้รับรางวัล ทฤษฎีนี้มีข้อสมมติที่ว่าการจูงใจ  (Motivation)  ขึ้นกับวิธีการซึ่งบุคคลต้องการ และวิธีการซึ่งบุคคลคิดว่าจะได้สิ่งนั้น ทฤษฎีนี้ถือว่าความเชื่อถือของบุคคล จะนำไปสู่การเกิดผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะทำให้เกิดพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมาย และเลือกพฤติกรรมที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จสูงสุด
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
 จัดทำโดย
นางประทีป เสรีเรืองยุทธ  รหัสนักศึกษา 535313527
นางเบญจวรรณ  อาษากิจ  รหัสนักศึกษา     
นางวันดี  ผะดาศรี  รหัสนักศึกษา 535313532 
นายเสนาะ  เยินรัมย์  รหัสนักศึกษา 535314363